ข้อ 1 |
ประจำเดือนที่หมดเองตามธรรมชาติจะสังเกตได้จากการที่ให้สตรีไม่มีประจำเดือนนานติดต่อกัน
12 เดือน สาเหตุเกิดจากการที่รังไข่ลดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ไม่เพียงพอ
ส่วนการหมดประจำเดือนจากการผ่าตัดนั้น
จะเริ่มเมื่อสตรีถูกผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง อาการของการขาดฮอร์โมนมีดังนี้
ร้อนวูบวาบ , เหงื่อออก , อารมณ์แปรปรวนและช่องคลอดแห้ง
|
ข้อ 2 |
สตรีส่วนใหญ่จะหมดประจำเดือนที่อายุประมาณ 50 ปี และจะใช้ชีวิตอยู่ในช่วงวัยทองนี้นานประมาณถึงหนึ่งในสามของช่วงชีวิต |
ข้อ 3 |
หลังหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะน้อยลง
การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้กระดูกมีการสูญเสียไปจากร่างกาย
ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ภายใน 6 ปีหลังจากหมดประจำเดือน
สตรีอาจมีกระดูกบางลงได้ถึงหนึ่งในสามจากของเดิม |
ข้อ 4 |
ถ้าไม่มีการรักษาหรือการป้องกัน โรคกระดูกพรุนอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการใดๆ
จนกระทั่งกระดูกหักจึงจะเริ่มรู้สึกปวด ตำแหน่งที่กระดูกหักมักจะเกิดขึ้นที่สะโพก
ข้อมือและกระดูกสันหลัง |
|
|
ข้อ 5 |
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนคือ
- เชื้อชาติ (ฝรั่งผิวขาวหรือคนเอเชียจะมีโอกาสสูง)
- คนที่มีครอบครัวหรือญาติเคยมีภาวะกระดูกหักมาก่อน
- คนที่หมดประจำเดือนไวกว่าปกติ (หมดเองเร็วกว่าปกติหรือถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง)
- มีรูปร่างผอมบาง
- มีโรคบางชนิดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเนื้อกระดูก
- การใช้ชีวิต (life style) ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมในร่างกาย
เช่น การสูบบุหรี่จัด , ทานอาหารแคลเซียมไม่เพียงพอ
, ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
|
ข้อ 6 |
ภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนที่เกิดขึ้นในช่วง
10 ถึง 20 ปี หลังหมดประจำเดือนร้อยละ 75 มักจะเกิดการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าที่จะเกิดจากอายุมากขึ้น |
ข้อ 7 |
หลังการหมดประจำเดือน
สตรีจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจได้สูงขึ้นเท่า
ๆ กับเพศชาย และโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้หญิง |
|