(สตรี) หญิงวัยทองกับเรื่องเพศ [Sex in Menopause] 


     ที่ว่าเรื่องเพศหรือเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องของคนทุกวัยอาจจะไม่จริงทีเดียวนักสำหรับสตรีวัยทอง เพราะหญิงวัยนี้ประสบปัญหาข้อขัดข้องทางเพศไม่น้อยทีเดียว เรื่องเพศจะดีได้อย่างไรหากสุขภาพกายก็ไม่ดี สุขภาพจิตก็แย่

     การพูดคุยเรื่องเพศกับคนไขู้จะไม่ง่ายนักสำหรับสูตินรีแพทย์ โดยเฉพาะกับคนไข้หญิงวัยทอง จะเริ่มต้นพูดคุยอย่างไรและจะทำอย่างไรให้ทั้งตัวแพทย์ และคนไข้เองรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติที่น่าจะพูดคุยกันสะดวกใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

      แพทย์บางคนก็ถามบ้าง ถามสั้น ๆ ตามแบบฉบับของการซักประวัติ เช่น มีอาการผิดปกติอะไรทางช่องคลอดหรือไม่ เจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์หรือไม่ มีเพศสัมพันธ์บ่อยแค่ไหน จะอย่างไรก็แล้วแต่มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะถามด้วยการถามตรง ๆ เป็นลักษณะทางการแพทย์ ทางวิชาการจะเป็นการดีที่สุดและจะได้จำนวนคนไข้สนทนาในเรื่องเพศเพิ่มขึ้น

      อาจใช้เทคนิคในการสนทนาช่วงกลาง ๆ หรือท้าย ๆ พูดนำว่า มีผู้หญิงหลายคนพบการเปลี่ยนแปลงหรือมีความยุ่งยากทางเรื่องเพศเมื่อเข้าสู่วัยทอง แล้วถามคนไข้ว่า "มีอะไรเกิดขึ้นกับคุณหรือเปล่า" คำถามนี้เป็นเสมือนเชิญชวนให้คนไข้เข้าสู่การพูดคุยเรื่องเพศ

      Sex เป็นเรื่องสำคัญมีผลต่อคุณภาพชีวิต (Quality of life) หากแพทย์คิดว่าไม่สำคัญก็ถือว่าลืมเรื่องใหญ่ไปเรื่องหนึ่งทีเดียว (really missing the boat) Holistic approach นั้นจำเป็นต้องรวมถึงเพศด้วย คนไข้บางคนจะคุยในการมาพบแพทย์ครั้งหลัง ๆ ด้วยมีความคุ้นเคย กันเองและไว้ใจมากขึ้น

      การพูดคุยเรื่องเพศต้องเริ่มด้วยวิธีที่นุ่มนวล ให้เกิดความรู้สึกสบาย ๆ ค่อย ๆ สังเกต สำหรับแพทย์ควรจะมีการศึกษาหาความรู้ในเรื่องเพศ รวมถึงรู้แหล่งที่จะแนะนำต่อ (referal source) ก็จะช่วยให้ง่ายขึ้นในการสนทนากับคนไข้

      ก่อนจะเริ่มคุยเรื่อง Sex นั้น จะต้องมองและเข้าใจว่าคนในวัยทองนี้ก็ยังมี Sex เป็นปกติ เพื่อตั้งคำถามพูดคุยโต้ตอบยอมรับได้ด้วยความเหมาะสม และก็ให้คนไข้รับรู้หรือย้ำว่าการมี Sex ในวัยนี้ก็ O.K.

What affects sexual function in menopausal women?

     โดยพื้นฐานแล้วมี 3 ปัจจัยที่แยกกันชัดเจนแต่สัมพันธ์กัน

  1. แรงขับดันทางเพศ (Sex drive) โดยสภาพทางร่างกายชีววิทยา เกิดความสนใจทางเพศขึ้นมาโดยธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของ คน ๆ นั้น จินตนาการทางเพศ (Sexual fantasies) และการแสดงออกพฤติกรรมทางเพศ

  2. องค์ความรู้ความเข้าใจ (Congnitive) ความรู้ความเข้าใจของแต่ละคนจะสะท้อนถึงความคาดหวัง (axpectations) ความเชื่อ (belief) และคุณค่าของSex (sex value) เช่น ลูก ๆ โตกันหมดแล้ว ก็รู้สึกว่าได้มีโอกาสสใช้ชีวิตอิสระเป็นส่วนตัวอีกครั้ง มีความใกล้ชิดดูแลกันและเชื่อว่า Sex เป็นสิ่งดีเสริมสร้างความรู้สึกและความสัมพันธ์ต่อกัน ดังนั้น sex drive ก็จะเพิ่มขึ้น แต่ในกรณีตรงกันข้าม คิดว่าเป็นคุณยายคุณย่าแล้ว มีอายุแล้ว ไม่ควรจะมีเรื่องนี้อีก sex drive ก็จะหายไป

  3. Motivation สะท้อนถึงสุขภาพจิต (psychological health) และความสัมพันธภาพ (interpersonal relationship) ตัวนี้เป็น impact ที่สำคัญที่สุดใน 3 ปัจจัย ถ้าผู้หญิงมีตัวเสริมกระตุ้นทางด้านจิตใจ เสน่หาอารมณ์ความปรารถนาทางเพศก็จะเกิดขึ้น (อารมณ์ดี Sex ดี) แต่หากมีความขัดแย้งกับคู่สมรส , ปัญหาสุขภาพ , ปัญหาการเงินหรืออะไรก็ตามที่รบกวนจิตใจ ความปรารถนาก็จะลดลง แรงขับดันทางเพศ (drive) ก็ถูกบดบัง การพิจารณาปัญหา sexual drive ของหญิงวัยทองนี้จะต้องพิจารณา 3 ปัจจัยนี้

หญิงวัยทองเป็นช่วงกลางของชีวิต (mid life) ซึ่งมี pressure ต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาของลูก ๆ ที่กำลังโต ภาวะผันผวนทางการงาน/ธุรกิจของสามี ปัญหาสุขภาพของคนในครอบครัว กังวลเป็นห่วงบิดามารดาที่แก่เฒ่า mini midlife crisis ต่าง ๆ relationship เหล่านี้เป็น psychosicial issuse แต่ health issues ก็มีส่วน impact ต่อเรื่อง sex

  • Medication เป็นเรื่องที่มีผล เช่น recreational drugs, alcohol, antidepressants
  • Past surgical history เช่น hysterectomy หรือ pelvic surgery
  • การมองร่างกายตนเองจะมีผลต่อ Sex ว่า sodyimage ดีหรือแย่
  • depression พบบ่อย ๆ ซึมเศร้า เบื่อหน่าย เซ็ง อาจมีมากถึง 20% เคยประสบเรื่อง depression มาช่วงหนึ่งในห้วงของชีวิต ภาวะนี้อาจเกิดจาโรคทางจิตหรือเป็นผลจากระดับฮอร์โมน ช่องคลอดจะแคบ , แห้ง , ผนังบาง-ฉีกขาดง่าย , ขาดน้ำหล่อลื่น


โดย น.พ. วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์  

 

อ่านย้อนหลัง | อ่านเรื่องถัดไป