|
1.
Menopause (เมโนพอส) คืออะไร |
|
|
2.
จะเข้าสู่ Menopause เมื่อไร |
|
Menopause คือ
การหมดของระดูอย่างถาวรของสตรี เนื่องจากรังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนเพศ โดยนับจากการไม่มีระดูติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่งปีเต็ม
ทำให้สตรีเข้าสู่วัยที่ไม่สามารถมีบุตรได้อีกต่อไป
|
|
|
อายุเฉลี่ยของวัย Menopause
สำหรับสตรีไทย คือ 49 ปี บางคนอาจเข้าสู่วัยนี้ตั้งแต่อายุ 40 กว่า บางคนอาจมีอาการช้า
คือ เริ่มเมื่อ อายุประมาณ 55 ปี
|
|
|
|
|
|
|
3.
ช่วง Menopause นอกจากระดูไม่ปกติแล้ว อาจมีอาการอื่น ๆ ของ Menopause อีก
หรือไม่ |
|
|
4.
ทำไมจึงเรียกสตรีวัยนี้ว่า "สตรีวัยทอง" |
|
|
อาการทั่วไปที่พบ
ได้แก่ ร้อนวูบวาบเหงื่อออกมาก ใจสั่น นอนไม่หลับ
หงุดหงิด ปวดเมื่อย อ่อนล้า หลงลืม
อาการอื่นได้แก่ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ช่องคลอดแห้งและ เจ็บแสบเวลามีเพศสัมพันธ์ ผิวพรรณเหี่ยวย่น ผมร่วง
เล็บเปราะ
|
|
|
|
เนื่องจาก สตรีวัย
40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่การงานมั่นคง มีความรู้ ความสามารถผ่านประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของครอบครัว
การงานหรือ สังคม จึงถือเป็นวัยแห่งความสำเร็จ ของชีวิต
|
|
|
|
|
|
|
|
|
5.
ถ้าสตรีอายุ 48 หมดระดูไม่เกิน 1 ปี แล้ว แต่ไม่มีอาการใดเลย แสดงว่าเข้าสู่
Menopause หรือไม่ |
|
|
6.
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเข้าสู่ Menopause ตั้งแต่อายุ 30 กว่า |
|
|
ตามหลักแล้ว Menopause
จะเริ่มนับจากการไม่มีระดูติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ในสตรีบางรายอาจไม่มีอาการใดเลย
ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศ ได้แก่ โรคกระดูกพรุน
และ ระดับไขมันในกระแสเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำมาสู่กระดูกหัก
และโรคหัวใจขาดเลือด ดังนั้น จึงแนะนำให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์
เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
|
|
|
|
|
แม้ว่าอายุ 30 เศษ
ๆ จะยังเร็วไปสำหรับการหมดระดู แต่พบว่าสตรี 8 ใน 100 คน มีโอกาศหมดระดูเร็วกว่าสตรีทั่วไป
อย่างไรก็ดีการเข้าสู่ Menopause เร็วกว่าปกติ ส่วนใหญ่ มักเกิดในสตรีอายุ
30 ตอนปลาย หรือ 40 ตอนต้น
อีกสาเหตุของการเข้าสู่
Menopause เร็วกว่าสตรีทั่วไปคือการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง
เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศได้อีกต่อไป สตรีกลุ่มนี้
หากไม่ได้รับฮอร์โมนเพศทดแทนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
ทำให้มีการสลายตัวของเนื้อกระดูกมากกว่าปกติ
|
|
|
|
|
|
|
|
7.
ควรปฏิบัติตนอย่างไรตั้งแต่วัยสาวเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ ในช่วงวัย
Menopause |
|
|
8.
สตรีเข้าสู่ Menopause ช้ากว่าสตรีปกติ จะมีอายุยืนกว่าคนอื่นหรือไม่ |
|
ปัจจุบันสามารถรักษาอาการ
Menopause ได้ด้วยฮอร์โมนทดแทนแต่สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตหลังหมดระดู
คือโรคกระดูกพรุน และ โรคหัวใจขาดเลือด อย่างไรก็ดีร่างกายคนเรามีการสร้างสมเนื้อกระดูก
จนมีปริมาณสูงสุด ที่อายุ 35ปี ดังนั้นหากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
และรับประทานแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอ ร่างกายสามารถสร้างสมเนื้อกระดูกไว้มากเมื่อเข้าสู่วัย
Menopause จะมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนน้อยลง
|
|
นอกจากนี้พบว่าเมื่อเข้าสู่วัย Menopause
ระดับไขมันในกระแสเลือดจะเพิ่มขึ้นสูง การรับประทานอาหารไขมันต่ำ อาหารที่มีกาก
มีผลช่วยควบคุมระดับไขมันในกระแสเลือดและป้องกัน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้
|
|
|
|
สตรีที่หมดระดูช้าแสดงว่าร่างกายยังผลิตฮอร์โมนเพศเองได้
ทำให้ดูแก่ช้า เมื่อดูลักษณะภายนอก ผิวพรรณไม่เหี่ยวย่น เดินหลังตรง
คล่องแคล่ว นอกจากนี้ระบบกระดูก และหัวใจยังได้รับการปกป้องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน
ที่ร่างกายผลิตเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
9.
อาการร้อนวูบวาบ เป็นอย่างไร |
|
|
10.
เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน คืออะไร มาจากไหน |
|
|
เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
ในร่างกายลดลงกระทันหัน ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายจะทำงานผิดไป
ทำให้หลอดเลือดตามผิวหนังขยายตัว เกิดอาการร้อนวูบวาบพร้อมทั้งมีเหงื่อออกมาก
บริเวณหน้าอก หลังและคอ บางคนเป็นเพียงวันละ 2 - 3 ครั้ง แต่บางคนเป็นถี่ถึง
50 ครั้งต่อวัน
|
|
|
|
ทั้งสองชนิดเป็นฮอร์โมนเพศที่ร่างกายเคยสร้างเองได้ก่อนจะเข้าสู่วัยหมดระดู
ฮอร์โมนเอสโตรเจน
ออกฤทธิ์ ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติของสตรี ทำงานปกติ ความจำดี ผิวพรรณดี
ระบบปัสสาวะปกติ ช่องคลอดชุ่มชื้น หัวใจดี กระดูกแข็งแรง อีกทั้งยังป้องกันโรคกระดูกพรุนและโรคหัวใจขาดเลือด
แต่ในขณะเดียวกัน ฮอร์โมนเอสโตรเจนก็เป็นตัวกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
หรือโปรเจสโตเจน คือ ตัวเดียวกัน เป็นตัวทำให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปด้วยดี
แต่ในช่วงที่ไม่มีการตั้งครรภ์ โปรเจสเตอโรนจะปรับเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวขึ้น
เนื่องจากเอสโตรเจน ให้หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
11.
อาการหน้ามันหรือมีขนขึ้นตามใบหน้า เป็นอาการ Menopause หรือไม่ |
|
|
12.
การที่ผมและขนตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหลุดร่วงไปเป็นอาการปกติของ Menopause
หรือไม่ |
|
เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจน
ในร่างกายสตรีหมดไป ฮอร์โมนเพศตัวอื่นในร่างกายสตรีจะเด่นขึ้น ในสตรีบางคนฮอร์โมนตัวนั้นจะเด่นมาก
และออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศชาย ทำให้เกิดหน้ามัน หรือ มีหนวดบาง ๆ ขึ้นตามใบหน้า
|
|
|
ตามปกติรากผมหรือขนจะฝังตัวในชั้นหนังแท้
ซึ่งมีคอลลาเจน (ตัวเพื่อความหนาและความยืดหยุ่นแก่ผิวหนัง) ประกอบอยู่เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
ปริมาณคอลลาเจนจะลดลงตามไปด้วย ทำให้ผิวหนังแห้งบางและเหี่ยวย่น ขณะเดียวกันรากผมและขนที่เคยฝังตัวอยู่จะหลุดร่วงออกมาได้ง่าย
|
|
|
|
|
|
|
13.
อาการใดบ้างที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจาก Menopause |
|
|
14.
ทำไมจึงมีอาการแห้งและคันช่องคลอดเมื่อเข้าสู่ Menopause |
|
เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
พบว่าจะมีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะบ่อย สาเหตุเพราะท่อปัสสาวะบางลงมีความยืดหยุ่นน้อย
เชื้อโรคจึงเข้าไปได้ง่าย นอกจากนี้ความยืดหยุ่นที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สตรีหลายคนมีปัสสาวะเล็ดเวลาไอ
หรือจาม
|
|
|
|
|
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหมดระดูฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
ทำให้ความชุ่มชื้นและสารหล่อลื่นในช่องคลอดค่อย ๆ หมดไป นอกจากคุณสมบัติหล่อลื่นแล้ว
สารนี้ยังป้องกันการเจริญของเชื้อโรคในช่องคลอดได้ด้วย เมื่อสิ่งเหล่านี้หมดไป
จึงมีอาการช่องคลอดแห้งคันเพราะติดเชื้อง่าย และเจ็บแสบเวลามีเพศสัมพันธ์
|
|
|
|
|
|
|
15.
ทำไมจึงเกิดความรู้สึกมึนงง หดหู่ เมื่ออยู่ในวัย Menopause |
|
|
16.
หากไม่มีอาการร้อนวูบวาบ แต่มีอาการนอนไม่หลับ สาเหตุจะเกิดจาก Menopause ได้หรือไม่ |
|
สาเหตุสำคัญเป็นเพราะอาการร้อนวูบวาบ
ในตอนกลางคืน ทำให้มีเหงื่อออกมากจนนอนไม่หลับ การนอนพักผ่อนน้อย ทำให้รู้สึกเพลียในตอนกลางวัน
และเกิดอาการมึนงง หดหู่ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการขาดฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนทดแทนจะช่วยรักษาอาการได้ดี
|
|
|
เป็นไปได้ เพราะสตรีราวร้อยละ
25 ที่ไม่มีอาการร้อนวูบวาบ แต่มีอาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นในช่วงที่พบว่าตนเองมีระดูไม่ปกติ
|
|
|
|
|
|
|
17.
อาการใจสั่นเป็นอาการ Menopause หรือไม่และควรทำอย่างไร |
|
|
18.
อาการอ่อนล้าเป็นอาการ Menopause หรือไม่ |
|
|
ใจสั่นเป็นอีกอาการหนึ่งของ
Menopause แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น เป็นอาการเตือน ของโรคหัวใจ,
โรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ หรือเกิดจากการดื่มกาแฟมากเกินไป
|
|
|
|
สำหรับสตรีวัยหมดระดู
มักจะพบปัญหานอนไม่ค่อยหลับ ทำให้มีอาการอ่อนล้า หรือคนที่เครียดก็จะเกิดอาการอ่อนล้าเช่นกัน
|
|
|
|
|
|
|
19.
ความเครียดก่อให้เกิดอาการ Menopause มากขึ้นหรือไม่ |
|
|
20.
Menopause มีผลอย่างไรต่อความจำ |
|
เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
จะมีอาการเครียด หงุดหงิด ขวางหูขวางตาสตรีบางคนยิ่งเครียดยิ่งนอนไม่หลับ
ทำให้อาการเครียดเพิ่มมากขึ้นไปอีก
|
|
|
|
|
พบว่าสตรีวัยนี้มีความจำระยะสั้นแย่ลง
หลงลืมง่าย ปัญหาที่พบบ่อยคือลืมว่าวางข้าวของไว้ที่ไหน หรือลืมว่ากำลังตั้งใจจะทำอะไร
|
|
|
|
|
|
|
21.
เมื่อไรอาการ Menopause จึงจะหมดไป |
|
|
22.
Menopause เนื่องจากการผ่าตัด ต่างจาก Menopause โดยธรรมชาติอย่างไร |
|
อาการทั่วไปของ Menopause มักเกิดเพียง
2 - 3 ปี แรกแล้วหมดไป ในช่วง 2 - 3 ปีที่มีอาการนี้ ฮอร์โมนทดแทนสามารถรักษาได้
อย่างไรก็ตามขอแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนต่อไป เพราะนอกจากจะรักษาอาการ Menopause
ทั่วไปแล้ว ยังลดอาการผิวพรรณเหี่ยวย่น ผมร่วง เล็บเปราะ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
และช่องคลอดแห้ง อีกทั้งยังมีผลดีในระยะยาว คือ สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุน
และโรคหัวใจขาดเลือด ในสตรีวัยหมดระดูได้ด้วย
|
|
|
เมื่อรังไข่ทั้งสองข้างถูกตัดออกไป
ร่างกายสตรีจะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศทันที เราถือว่าเข้าสู่วัย Menopause
หรือหมดประจำเดือนโดยการผ่าตัด แต่ในสตรีที่ยังมีรังไข่ รังไข่จะค่อย
ๆ ลดการทำงานลงและหยุดสร้างฮอร์โมนเพศ เมื่ออายุประมาณ 49 ปี จะถือว่าเข้าสู่วัย
Menopause โดยธรรมชาติ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
23.
สตรีที่ผ่าตัดมดลูกออกต่างจากการผ่าตัดรังไข่ ออกอย่างไร |
|
|
24.
หลังการผ่าตัดมดลูกออก แต่ยังมีรังไข่อยู่ จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงวัย Menopause
แล้ว |
|
สตรีที่มีเนื้องอกในมดลูก
มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติรุนแรง และสตรีที่เป็นมะเร็งมดลูก และได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดมดลูกออก
สตรีกลุ่มนี้ไม่สามารถมีบุตรและไม่มีระดูอีกต่อไป แต่ร่างกายยังไม่ขาดฮอร์โมนเพศ
เนื่องจากยังมีรังไข่ซึ่งเป็นตัวผลิตฮอร์โมนเพศอยู่
สำหรับสตรีที่มีความผิดปกติที่รังไข่
และถูกตัดรังไข่ออกไปจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนทันทีหลังการผ่าตัด เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเฉียบพลัน
ซึ่งมักมีอาการ Menopause เกิดขึ้นอย่างมากทันที
|
|
|
เมื่อไม่มีมดลูก
สตรีจะไม่มีระดูจึงไม่มีอาการระดูผิดปกติที่จะคอยเตือนให้ทราบ แต่จะสามารถสังเกตเห็นอาการผิดปกติทั่วไปอื่น
ๆ ที่แสดงว่าเข้าสู่วัย Menopause แล้ว เช่น อาการร้อนวูบวาบ
เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ ปวดเมื่อย อ่อนล้า หงุดหงิด หลงลืม ผิวพรรณแห้งย่น
ผมร่วง เล็บเปราะ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ช่องคลอดแห้งแสบเวลาที่มีเพศสัมพันธ์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
25.
การเลือกใช้ฮอร์โมนทดแทนในสตรีที่ยังเข้าสู่ Menopause ตามธรรมชาติ และ เนื่องจากการผ่าตัดแตกต่างกันหรือไม่ |
|
|
26.
หากผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกแล้ว แพทย์ให้รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำไมยังคงมี
อาการร้อนวูบวาบและนอนไม่หลับ |
|
ถึงแม้จะเข้าสู่วัย
Menopause เหมือนกัน แต่แพทย์มีหลักการง่าย ๆ ในการให้ฮอร์โมนแก่คนไข้ดังนี้
สตรีที่ตัดมดลูกแล้ว การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว
สำหรับสตรีที่ยังมีมดลูก จะต้องเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสโตเจน
เพื่อบังคับให้เยื่อบุโพรงมดลูก ที่อาจหนาตัวจากฮอร์โมนเอสโตรเจน หลุดลอกออกมาเป็นเลือดคล้ายประจำเดือน
|
|
|
|
|
|
ในครั้งแรกฮอร์โมนทดแทนที่ได้รับอาจมีปริมาณไม่เหมาะ
กับ ความต้องการของร่างกายจึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับเปลี่ยน ขนาดของฮอร์โมนทดแทน
|
|
|
|
|
|
|
|
27.
การรับประทานยาคุมกำเนิดต่างจากฮอร์โมนทดแทน อย่างไร |
|
|
28.
ทำไมฮอร์โมนทดแทนส่วนใหญ่จึงประกอบด้วยเม็ดยา 2 สีในแผงเดียวกัน |
|
ถึงแม้จะมีลักษณะแผงยา
และวิธีการรับประทานยาตามลูกศรคล้ายกัน แต่ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์
ไม่ใช่ฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายต้องการในช่วง Menopause และยังมีความแรงมากกว่าในฮอร์โมนทดแทนหลายสิบเท่า
จึงไม่เหมาะที่จะในการนำมาใช้แทนกัน
|
|
|
|
|
ฮอร์โมนชนิดที่มี
2 สี ในแผงเดียวกัน หมายความว่าสตรีจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทน ชนิดที่มีโปรเจสโตเจนร่วมด้วย
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะยังมีมดลูกอยู่จึงจำเป็นต้องปรับรอบระดูให้เป็นปกติ
หรือมีประวัติเป็นเอนโดเมทริโอซิส
|
|
|
|
|
|
|
|
|
29.
ถ้ายังจำเป็นต้องคุมกำเนิด ในช่วงอายุที่ใกล้วัย Menopause ควรทำอย่างไร |
|
|
30.
เมื่อเข้าสู่วัย Menopause ความสนใจ ทางเพศจะหมดไปจริงหรือไม่ |
|
ควรเลือกใช้ยาคุมกำเนิด
ที่มีฮอร์โมนต่ำที่สุด เพื่อเลี่ยงอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ หรืออาจเลี่ยงมาใช้ห่วงฮอร์โมนขนาดต่ำสำหรับคุมกำเนิด
หากไม่ได้มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้ง การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีที่เหมาะสม
|
|
|
ระดับฮอร์โมนที่ลดต่ำทำให้ความชุ่มชื่นของผนังช่องคลอดหมดไป
จึงรู้สึกเจ็บแสบมากเวลามีเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้ความสนใจทางเพศลดลง การใช้ฮอร์โมนทดแทนสามารถลดปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน
|
|
|
|
|
|
|
31.
เมื่อไรที่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ระบบปัสสาวะ ช่องคลอด หัวใจ หรือ กระดูก
ไม่ต้องการฮอร์โมนทดแทนอีกต่อไป |
|
|
32.
หากใช้ฮอร์โมนทดแทนควรไปพบแพทย์บ่อยแค่ไหน |
|
|
หากต้องการรักษาอาการ
Menopause โดยทั่วไปใช้เวลาเพียง 2 - 3 ปี อาการเหล่านั้นควรจะหายไป
แต่ตราบใดที่ร่างกายังขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะยังคงมีอาการ ผิวหนังแห้งย่น
ปัสสาวะเล็ด ช่องคลอดแห้ง คันอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังมีอาการที่มองไม่เห็น
ได้แก่ เนื้อกระดูกเริ่มบางลง ระดับไขมันในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงของกระดูกหัก และโรคหัวใจขาดเลือด จึงแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย
5 - 10 ปี
|
|
|
|
ควรมาพบแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง
เพื่อตรวจเช็คร่างกาย ได้แก่ ตรวจภายใน ตรวจเต้านม ในบางคลินิคอาจมีการตรวจวัดระดับไขมันในกระแสเลือด
และตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
33.
ถ้าสตรีเข้าวัย Menopause รับประทาน เฉพาะฮอร์โมนทดแทนจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้หรือไม่ |
|
|
34.
ควรรับประทานฮอร์โมนทดแทน เวลาเดียวกันทุกวันหรือไม่ |
|
เมื่อสตรีเริ่มเข้าสู่วัยหมดระดู
โอกาสที่จะตั้งครรภ์จะน้อยกว่าสตรีวัยเจริญพันธุ์มาก อย่างไรก็ตามควรใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย
เช่น ใช้ถุงยางอนามัย ในช่วงที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน
|
|
|
|
|
หากสามารถรับประทานในเวลาเดียวกัน
หรือในช่วงเดียวกันได้ทุกวันก็จะเป็นผลดี เพราะระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดจะสม่ำเสมอไม่สูงเกินไป
หรือต่ำเกินกว่าระดับที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
|
|
|
|
|
|
|
35
ถ้ารับประทานฮอร์โมนทดแทน แล้วต้องทำงานที่ตากแดดบ่อย ๆ จะมีปัญหาหรือไม่ |
|
|
36
ข้อเสียของฮอร์โมนทดแทนคืออะไร |
|
จากที่เคยทราบว่าฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดอาจทำให้สีผิวเปลี่ยนแปลงได้
แต่ฮอร์โมนทดแทนมีระดับของฮอร์โมนต่ำกว่าในยาคุมกำเนิดมาก อย่างไรก็ดีควรทาครีมกันแดด
เมื่อต้องอยู่กลางแดดเป็น เวลานาน ๆ
|
|
|
|
|
ในช่วง 2 - 3 เดือนแรก
บางรายอาจพบอาการข้างเคียงซึ่งได้แก่ มีเลือดออกบ้างระหว่างรอบเดือน
เวียนศีรษะคัดตึงเต้านมซึ่งจะค่อยลดน้อยลงในเวลาไม่กี่เดือน อย่างไรก็ตาม
หากเทียบคุณประโยชน์ที่จะได้รับกับอาการ ข้างเคียงดังกล่าว พบว่าฮอร์โมนทดแทนยังให้ประโยชน์คุ้มค่าในการรักษาอาการในวัยหมดระดูทั่วไป
รวมทั้งเพิ่มความมีน้ำมีนวลให้ผิวพรรณ ลดอาการช่องคลอดแห้งแล้วกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
อีกทั้งยังป้องกันโรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจขาดเลือดด้วย
|
|
|
|
|
|
|
37
ฮอร์โมนทดแทนทำให้น้ำหนักขึ้นหรือไม่ |
|
|
38
ฮอร์โมนทดแทนจะทำให้มีระดูต่อไปอีกหรือไม่ และนานเท่าใด |
|
|
ฮอร์โมนทดแทนไม่ได้เพิ่มการสะสมไขมันในร่างกาย
แต่เพิ่มการสะสมน้ำใต้ผิวหนัง ทำให้ดูอวบอิ่มขึ้นหลังรับประทานฮอร์โมนทดแทน
ในขณะเดียวกันบางคนอาจมีน้ำหนัก เพิ่มขึ้นบ้างราว 1 กิโลกรัม ซึ่งเกิดจากการสะสมของน้ำใต้ผิวหนัง
|
|
|
|
ในสตรีที่เริ่มมีประจำเดือนไม่ปกติ
แพทย์มักให้รับประทานฮอร์โมนทดแทนชนิดที่ปรับรอบระดูให้เข้าสู่ปกติ อย่างไรก็ตามระดูจะมาน้อยลงและหมดไปในที่สุด
ส่วนจะใช้เวลานานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล (2 - 4 ปี)
|
|
|
|
|
|
|
39
ขณะนี้ระดูเริ่มมาน้อยและขาดหาย จะเริ่มรับประทานฮอร์โมนทดแทน ได้เลยหรือไม่ |
|
|
40
ฮอร์โมนทดแทน นำมาใช้ปรับรอบเดือน ผิดปกติในวัยรุ่นได้หรือไม่ |
|
หากได้รับการตรวจภายในและตรวจเต้านมประจำปีอยู่แล้ว
สามารถเริ่มรับประทานฮอร์โมนทดแทนเพื่อรักษาอาการทั่วไปในวัยหมดระดู
รวมทั้งผิวพรรณแห้งย่น ช่องคลอดแห้ง และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้
นอนจากนี้ยังพบว่า 5 ปี แรก ที่สตรีหมดประจำเดือน
เป็นช่วงที่เนื้อกระดูกมีการสลายตัวมากที่สุด และยังพบว่า 70 % ของสตรี
วัยนี้มีระดับไขมันในกระแสเลือดสูงเกินมาตราฐาน การรับประทานฮอร์โมนทดแทน
แต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และ โรคหัวใจขาดเลือดได้
|
|
|
|
|
ฮอร์โมนทดแทนชนิดที่ให้ประสิทธิภาพในการควบคุมรอบประจำเดือนได้ดี
ในสตรีที่ใกล้หมดประจำเดือน จะสามารถนำมาใช้ปรับรอบประจำเดือนที่ผิดปกติในวัยรุ่นได้
|
|
|
|
|
|
|
|
|
41
สตรีที่เคยเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ (Endometriosis) หากมีอาการ Menopasu
ใช้ฮอร์โมนทดแทนได้หรือไม่ |
|
|
42
เป็นเบาหวานใช้ฮอร์โมนทดแทนได้หรือไม่ |
|
เมื่อเข้าสู่วัย
Menopause อาการของโรคนี้มักจะหายไป แต่หากจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
ซึ่งแพทย์มักเลือกให้ฮอร์โมน ทดแทนที่มีส่วนผสมของโปรเจสเตอโรนร่วมด้วย หรือเลี่ยงมาใช้ฮอร์โมนขนาดต่ำ |
|
|
ฮอร์โมนทดแทนหลายชนิดในปัจจุบันเป็นฮอร์โมนธรรมชาติ ไม่มีผลกระทบต่อสตรีที่เป็นเบาหวานชนิดไม่รุนแรง
|
|
|
|
|
|
|
43
มีความดันสูง ใช้ฮอร์โมนทดแทนได้หรือไม่ |
|
|
44
สตรีบางคนกลัวว่าฮอร์โมนทดแทนจะทำให้เกิด มะเร็งเต้านม |
|
|
ฮอร์โมนทดแทนแบบรับประทานบางชนิด
สามารถใช้ได้ในสตรีที่เป็นความดันสูงชนิดไม่รุนแรง ทางที่ดีควรเลี่ยงไปใช้
ฮอร์โมนทดแทนรูปแบบอื่นนอกเหนือจากการรับประทาน เช่นชนิดแผ่นใสปิดผิวหนัง
|
|
|
|
ฮอร์โมนทดแทนอาจเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของเนื้องอก
บางชนิดที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนได้ แต่ไม่ควรใช้เป็นตัวก่อให้เกิด เนื้องอกจึงแนะนำให้ตรวจเต้านมก่อนใช้ฮอร์โมนทดแทน
และตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน
|
|
|
|
|
|
|
45
สตรีที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือไม่ |
|
|
46
ควรหมั่นตรวจเต้านมบ่อยเพียงใด |
|
จากการศึกษาพบ่าสตรีที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าสตรีปกติถึง
1 เท่าตัว หากมีปัญหาเกี่ยวกับอาการ Menopause และต้องการใช้ฮอร์โมนทดแทน ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ |
|
|
ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมเป็นประจำทุกปี
และหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน
|
|
|
|
|
|
|
47
ถ้ามีเนื้องอกที่เต้านมหรือมดลูกจะใช้ฮอร์โมน ทดแทน หรือไม่ |
|
|
48
เมื่อรู้สึกว่าอาการ Menopause ดีขึ้นมากแล้ว ควรใช้ฮอร์โมนทดแทนต่อไปนี้อีก
นานเท่าไร |
|
หากได้รับการตรวจแล้วว่าเนื้องอกนั้นสัมพันธ์กับฮอร์โมนไม่ควรใช้ฮอร์โมนทดแทน |
|
|
|
การใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย
3 - 5 ปี ได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถป้องกันโรคบางอย่างที่เกิดในวัย
สูงอายุได้ ทั้งนี้เนื่องจาก เอสโตรเจน
สามารถควบคุมระดับ โคเลสเตอรอลในกระแสเลือก
เอสโตรเจน สามารถควบคุมการ ขยายตัวของหลอดเลือดและ
เอสโตรเจน สามารถป้องกันการสลายของแคลเซียมจากกระดูกได้ ดังนั้นจึงป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ
โรคกระดูกพรุน และล่าสุดยังมีรายงานว่า เอสโตรเจนสามารถชะลอการเกิดโรคสมองฝ่อหรืออัลไซเมอร์ได้อีกด้วย
|
|
|
|
|
|
|
|
49
โรคกระดูกพรุนคืออะไร |
|
|
50
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ในสตรีหลังหมดระดูคืออะไร |
|
|
เมื่อร่างกายสูญเสียเนื้อกระดูกมาก
กระดูกจะบางลงจนกระทั่งพรุน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่าย
ในตำแหน่ง ข้อแขน สะโพกและสันหลัง ซึ่งจะนำไปสู่ความพิการและไม่สามารถดำรงชีวิตเป็นปกติสุขได้
ตลอดจนต้อง เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดระดูเกิด
เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ในร่างกายลดต่ำลง
|
|
|
|
นอกจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้ว
สาเหตุอื่นสำคัญได้แก่เชื้อชาติ พบว่าคนไทยรูปร่างเล็ก บาง มีโอกาสเกิด
โรคกระดูกพรุนได้ง่ายเมื่อเทียบกับชาวตะวันตก อีกสาเหตุหนึ่งคือเรื่องของการขาดแคลเซียม
สตรีที่ไม่นิยมดื่มนมมา โดยตลอดจะทำให้แคลเซียมสะสมในกระดูกน้อย
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
51
สตรีวัยหมดระดู จะทราบได้อย่างไรว่า เป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ |
|
|
52
เมื่อไรจึงควรเริ่มใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนหลังหมดระดู |
|
การตรวจร่างกายที่คลีนิค
Menopause สูตินรีแพทย์ จะมีเครื่องเอกซเรย์ วัดความหนาแน่นของเนื้อกระดูก
จะสามารถบกแนวโน้มของการเกิดโรคกระดูกพรุน และโอกาสเกิดกระดูกหักได้
|
|
|
|
|
เมื่ออายุ 35 ปี ร่างกายเราจะมีเนื้อกระดูกมากที่สุด
หลังจากนั้นการสร้างเนื้อกระดูกจะลดน้อยลง จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่วัย Menopause
ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดน้อยลง ทำให้กระดูกเริ่มบางลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน
แนะนำให้เริ่มรับประทานฮอร์โมนทดแทนตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยหมดระดู
|
|
|
|
|
|
|
53
คนที่มีน้ำหนักน้อยละมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุน หลังหมดระดูมากกว่าปกติหรือไม่
|
|
|
54
ทำไมเมื่อเข้าวัย Menopause มักมีอาการโรคหัวใจ |
|
|
สตรีรูปร่างเล็ก บาง
มักจะกระดูกเล็ก จึงทำให้น้ำหนักตัวน้อยตามไปด้วย คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนสูง
|
|
|
|
ในสภาวะที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
จะทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น เมื่อไปสะสมตามผนังหลอดเลือดจะก่อให้เกิดการแข็งตัวของเส้นเลือด
ทำให้เกิดความดันสูง นอกจากนี้ โคเลสเตอรอลอาจทำให้หลอดเลือดอุดตันได้
ถ้าเกิดกับเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจก็จะเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
|
|
55
ฮอร์โมนทดแทนป้องกันโรคหัวใจได้จริงหรือไม่ |
|
|
56
โรคสมองฝ่อหรืออัลไซเมอร์ เกี่นวข้องกับวัย Menopause อย่างไร |
|
เอสโตรเจนสามารถปกป้องผนังเส้นเลือดให้อยู่ในสภาพปกติ
และทำให้ไขมันในเส้นเลือดมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี นั่นคือทำให้โคเลสเตอรอล
ชนิด LDL (ผู้ร้าย) ลดลง และทำให้ และทำให้โคเลสเตอรอล ชนิด
HDL (พระเอก) เพิ่มขึ้น จึงไม่ก่อให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน
|
|
|
|
|
โรคนี้ส่วนใหญ่พบในคนอายุ
65 ปีขึ้นไป แต่พบในสตรีมากกว่าเกือบ 3 เท่า คนผอมซึ่งมีระดับเอสโตรเจนต่กมีแนวโน้มจะเกิดโรคนี้มากกว่าคนอ้วนซึ่งเอสโตรเจนสูงกว่า
ฮอร์โมนทดแทนช่วยชลอการเสื่อม ของเซลล์สมองให้ช้าลงได้
|
|
|
|
|
|
|
57
ฮอร์โมนทดแทนชนิดแผ่นใสปิดผิวหนัง ให้ประสิทธิภาพต่างจากฮอร์โมนทดแทนชนิด รับประทานหรือไม่ |
|
|
58
ฮอร์โมนทดแทนชนิดแผ่นปิดผิวหนัง ดีกว่าชนิดรับประทานอย่างไร |
|
|
การให้ฮอร์โมนทดแทนทุกชนิด
จุดประสงค์เพื่อชดเชยระดับ เอสโตรเจนที่จาดไป และไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนทดแทนชนิด
รับประทานหรือแผ่นปิดผิวหนังจะให้ระดับ ฮอร์โมนแก่ร่างกายในปริมาณที่เท่ากัน
จึงให้ผลในการรักษาอาการ Menopause ได้เหมือนกัน
|
|
|
|
สตรีที่มีข้อจำกัดในการรับประทานยา
มีปัญหาโรคตับ หรือมีอาการข้างเคียงบางอย่างจากการ ใช้ฮอร์โมนทดแทนชนิด
รับประทาน เช่น ปวดศีรษะแบบไมเกรน คัดหน้าอกมาก คลื่นไส้ หรือระบบดูดซึมยาในกระเพาะอาหารไม่ดี
อาจเลี่ยงมาใช้ฮอร์โมนทดแทนชนิดแผ่นปิดผิวหนังแทนได้
|
|
|
|
|
|
|
|
|
59
ทำไมคนที่มีปัญหาโรคตับจึงควรเลี่ยงยา หรือฮอร์โมนชนิดรับประทาน |
|
|
60
ฮอร์โมนทดแทนชนิดแผ่นมีวิธีการใช้ต่างจากชนิด รับประทานหรือไม่ |
|
เมื่อรับประทานยา
ยาส่วนใหญ่ต้องแตกตัวที่ตับก่อนเสมอ จึงสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้
การเลือกใช้ยา ที่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ ยาจะเข้าสู่กระแสเลือดได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านตับ
จึงเลี่ยงการเพิ่มภาระ การทำงานของ ตับได้ใน ระดับหนึ่ง
|
|
|
|
|
ฮอร์โมนชนิดแผ่นสามารถให้เอสโตรเจแก่ร่างกายได้อย่างสม่ำเสมอ
ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ ในขณะที่ฮอร์โมนชนิดรับประทาน ต้องรับประทานทุกวันติดต่อกัน
การเลือกใช้ฮอร์โมนทดแทนชนิดแผ่น จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ที่สะดวกใช้ และเลี่ยงอาการข้างเคียงได้
|
|
|
|
|
|