ในขณะที่เรามีการเจริญจากวัยเยาว์สู่วัยสูงอายุ ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือฮอร์โมนในร่างกาย ในขณะที่มีอายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายจะลดลงเป็นเหตุผลที่ทำให้อาจต้องมีการใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อป้องกันและแก้ไขผลที่จะกระทบต่ออวัยวะและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

 

      สำหรับคุณผู้หญิงการรักษากลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง โดยใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดประจำเดือน ดูจะเห็นเด่นชัด คุณสุภาพสตรีจะรู้สึกดีขึ้น มีพลังงานเพิ่มขึ้น มีอารมณ์ทางเพศดีขึ้น และป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และโรคหัวใจ ส่วนคุณผู้ชายก็สามารถได้รับประโยชน์จากการรักษาโดยใช้ฮอร์โมนทดแทนได้เช่นเดียวกัน ถ้ามีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน

      ในผู้ชาย ( และผู้หญิงด้วย ) การควบคุมฮอร์โมนเพศ จะเกิดขึ้นที่สมอง โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า ต่อมไฮโปธารามัส (Hypothalamus) เมื่อต่อมดังกล่าวตรวจพบว่าระดับของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) มีไม่เพียงพอ ต่อมไฮโปธารามัสจะส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) โดยอาศัยฮอร์โมนอีกชนิดที่เรียกว่าฮอร์โมน Gonadotrophin-releasing hormone (GnRH)


 

      เมื่อต่อมใต้สมองรับข้อมูลว่ามีฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ต่ำจากระดับของฮอร์โมน GnRH ต่อมใต้สมองก็จะปล่อย ฮอร์โมนเหนี่ยวนำการตกไข่ (Luteinizing hormone - - LH) และ ฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก (Follicle stimulating hormone - - FSH) ออกมาทุกๆ หนึ่งชั่วโมง ฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก (FSH) จะกระตุ้น เซลที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ที่เรียกว่า Laydig cells ในลูกอัณฑะเพื่อผลิต ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) เพิ่มขึ้น

      เมื่อมีระดับของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) เพียงพอแล้ว ต่อม Hypothalamus จะหยุดกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมน GnRH ที่ไปยังต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) กระบวนการนี้เรียกว่าระบบส่งข้อมูลย้อนกลับ (Feedback system)

 
สมอง (Hypothalamus)

หลั่งฮอร์โมน GnRH

ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland)

ฮอร์โมนเหนี่ยวนำการตกไข่ (Luteinizing hormone- - LH) และฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก (Follicle stimulating hormone - - FSH)

อัณฑะ
Laydig cells สร้างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone), ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen),และฮอร์โมน Progesterone

 

   ระยะวัยทองของผู้ชายจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

      เกิดเมื่อระดับของฮอร์โมนเพศชายลดลงซึ่งสภาพนี้เรียกว่า ภาวะการมีฮอร์โมนเพศต่ำ (Hypogonadism)

      การเกิดภาวะการมีฮอร์โมนเพศต่ำ (Hypogonadism) มี 2 ระดับ คือระดับปฐมภูมิ (Primary) และระดับทุติยภูมิ (Secondary)

    • ภาวะการมีฮอร์โมนเพศต่ำระดับปฐมภูมิ เกิดเมื่อ Laydic cells ในอัณฑะมีการสูญเสียความสามารถของการหลั่งฮอร์โมนเพศชายตั้งแต่ต้น หรือเมื่อยังเป็นหนุ่มสาว
    • ภาวะการมีฮอร์โมนเพศต่ำระดับทุติยภูมิ เกิดเมื่อข้อมูลจากสมองไปที่ต่อมใต้สมองไม่มากพอ หรือไม่มีความถี่เพียงพอที่จะกระตุ้น Laydic cells ให้หลั่งฮอร์โมนเพศชาย

      ถ้าระดับของฮอร์โมนเพศชายปกติ และคุณสุภาพบุรุษประสบอาการของภาวะวัยทอง สาเหตุนั้นอาจเกิดปัญหาจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง

      ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องมีอัตราส่วนเฉพาะของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง ชายวัยหนุ่มอาจมีอัตราส่วนของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง 50:1 อัตราส่วนดังกล่าวลดลงเป็น 20:1 หรือต่ำลงถึง 8:1 ตามปกติเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งหมายถึงว่าระดับของฮอร์โมนเพศหญิงในผู้ชายจะสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่ฮอร์โมนเพศหญิงป้องกันผู้หญิงจากโรคหัวใจและโรคกระดูกพรุน ผลดังกล่าวกลับตรงกันข้ามสำหรับเพศชาย ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีมากเกินไปดูเหมือนว่าจะเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจในผู้ชาย

 

  ฮอร์โมนเพศหญิงเกิดขึ้นในร่างกายของผู้ชายได้อย่างไร

      ในร่างกายมีเอ็นไซม์ที่ชื่อว่า Aromatase ซึ่งเป็นตัวเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายจำนวนหนึ่งไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายของผู้ชายจะสร้างจำนวน Aromatase มากขึ้น จำนวน Aromatase ที่มากขึ้นนี้หมายถึงการแปรสภาพฮอร์โมนเพศชายไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิงมากขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนอัตราส่วนของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง ผู้ชายอาจมีระดับของฮอร์โมนเพศชายปกติแต่การที่เพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเพศหญิงจะมีผลกระทบสัมพัทธ์ต่อระดับฮอร์โมนเพศชายที่ปกติ


     ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงสูงขึ้นได้อย่างไร

+ โรคอ้วน

      การศึกษาชี้ว่าโรคอ้วนมีผลโดยตรงกับฮอร์โมนเพศหญิงที่มากเกินไปในทั้งสองเพศ ทุกอนุภาคของไขมันจะมี Aromatase เป็นส่วนประกอบ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของจำนวนอนุภาคของไขมันจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มการแปลสภาพของฮอร์โมนเพศชายไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิง การเปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนอัตราส่วนของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง โรคอ้วนนี้เป็นที่รู้กันว่าทำให้มีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำในทุกวัย

 

+ การขาดแคลนธาตุสังกะสี (Zinc)

ธาตุสังกะสีเป็นตัวหยุดยั้งระดับของ Aromatase ในร่างกาย ถ้าระดับของธาตุสังกะสีมีไม่เพียงพอ ระดับของ Aromatase ก็จะสูงขึ้น ธาตุสังกะสีนี้ยังจำเป็นสำหรับระบบการทำงานปกติของต่อมใต้สมอง ถ้าไม่มีธาตุสังกะสีต่อมใต้สมองก็จะไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนฮอร์โมนเหนี่ยวนำการตกไข่ และ ฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกซึ่งเป็นตัวกระตุ้นอัณฑะให้ผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ สิ่งที่น่าสนใจคือธาตุสังกะสีมีความสำคัญสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศชาย ในขณะเดียวกันฮอร์โมนเพศชายดังกล่าวก็มีความจำเป็นสำหรับการรักษาระดับของธาตุสังกะสีในเนื้อเยื่อของร่างกายเช่นกัน

+ ระบบการทำงานของตับ
หนึ่งในระบบการทำงานของตับคือช่วยขับสารเคมี ,ฮอร์โมน , ยา และของเสียที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในร่างกายออกจากร่างกาย มีปัจจัยต่างๆ ที่จะกระทบกับการทำงานของตับ เช่น การดื่มสุราจะลดการทำงานของตับ อายุที่มากขึ้นตามปกติจะทำให้การทำงานของตับลดลงด้วยเช่นกัน

 

+ การดื่มสุรา

จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การดื่มสุราจะทำให้การทำงานของตับแย่ลง การดื่มสุราก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายเพิ่มขึ้น ในสุภาพสตรีจะมีการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเด่นชัดหลังจากดื่มสุราเพียงแค่แก้วเดียว ส่วนในผู้ชายแม้การเพิ่มขึ้นเห็นไม่เด่นชัดแต่ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงมีการเพิ่มสูงขึ้น พวกที่ดื่มสุราหนักจะมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงที่สูงกับอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น มีเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังเป็นหย่อมๆ คล้ายใยแมงมุม ( Spider veins ) โดยเฉพาะบริเวณจมูกและแก้ม, มีเต้านมใหญ่ขึ้นจนอาจเหมือนเต้านมผู้หญิง ( gynecomastia ) และการหดขนาดลงของอัณฑะ การดื่มสุราจะลดระดับของธาตุสังกะสีในร่างกายเช่นกัน

 

+ ยาต่างๆ
ผลข้างเคียงของยาจะมีผลกระทบด้านลบต่อร่างกาย และอาจมีผลกระทบต่อชายวัยทอง ตัวอย่างเช่นการปัสสาวะบ่อย (ยาขับปัสสาวะ ) เป็นยาที่ใช้รักษา ความดันโลหิตสูง และผลของการปัสสาวะบ่อยจะทำให้ระดับของธาตุสังกะสีในร่างกายลดลง

 

     ฮอร์โมนเพศชายในร่างกายของคุณ

      ฮอร์โมนเพศชายสามารถอยู่อย่างอิสระ (Free) หรืออยู่รวมกัน (Bound) กับโปรตีนในร่างกาย ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่จับอยู่กับโปรตีนในร่างกายไม่สามารถนำมาใช้ได้ ฮอร์โมนที่ไม่ได้จับกับโปรตีนในร่างกายเรียกว่าฮอร์โมนอิสระหรือ Bioavailable testosterone

      ระดับปกติของฮอร์โมนเพศชายอยู่ระหว่าง 350-1000 ng/dl จากระดับปกติดังกล่าว ร้อยละ 97-98 จะอยู่ในรูปของฮอร์โมนที่ไม่อิสระ จำนวนของโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามอายุ SHBG จะจับกับ testosterone ทำให้มันไม่สามารถไปออกฤทธิ์ส่งต่อร่างกายได้ อย่างที่กล่าวแล้วว่าฮอร์โมนเพศชายจะช่วยในเรื่องความคงทนของกล้ามเนื้อและรักษาสภาพหรือเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ อารมณ์ทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ ฮอร์โมนตัวนี้ยังทำให้คุณภาพของการนอนหลับดีขึ้น เพิ่มพลังงานของจิตใจและร่างกาย และยังสนับสนุนการพัฒนาทางอารมณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตอีกด้วย

      ฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งมีผลกระทบมากมายต่อกิจกรรมในการผลิตพลังงานของร่างกาย เช่น การผลิตเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก การจัดรูปร่างของกระดูก การเผาผลาญของไขมันและแป้ง และการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก

 

 

     อาการต่างๆ

  • อาการซึมเศร้า การขาด Androgen สามารถกระทบต่อระบบความจำ (cognitive function) ผลก็คือการขาดพลังงานทางด้านจิตใจ ลดความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และมีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้า
  • อาการเหนื่อยง่าย การขาด Androgen เป็นสาเหตุของการสูญเสียการเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ ความหนาและความแข็งแรงของกระดูก การสูญเสียเหล่านี้สามารถเกิดกับชายวัยทองทำให้รู้สึกว่าเหนื่อยง่าย
  • ความรำคาญ การขาด Androgen ยังสามารถทำให้หงุดหงิดง่าย ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการก้าวร้าว ความไม่เป็นมิตร และความโมโห
  • เหงื่อออกและหน้าแดง ในผู้ชายสามารถเกิดได้เช่นเดียวกับผู้หญิง
 
  • การลดลงของอารมณ์ทางเพศ การขาด Androgen สามารถลดอารมณ์ทางเพศ (ความต้องการทางเพศ) สำหรับผู้ชายส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงทางเพศและการสูญเสียอารมณ์ทางเพศจะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย
  • การลดลงของสมรรถภาพทางเพศหรือ การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ การไม่มีประสิทธิภาพในการคงสภาพของการแข็งตัว การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ รวมถึงระยะเวลาของการแข็งตัว ผู้ชายส่วนใหญ่เมื่อถึงวัยกลางคนอาจจะสิ่งต่างๆเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงทางเพศจะเป็นสิ่งแรกที่มาก่อนหรือเป็นตัวเตือนให้ระวังว่าโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและเบาหวาน จะตามมาหรือไม่

 

+ ผลกระทบระยะสั้น

  • ความแข็งแรงลดลง
  • ความอดทนลดลง
  • ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง
  • อารมณ์ทางเพศลดลง
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • พักผ่อนน้อย
  • เหนื่อยง่าย
  • ความมั่นใจในตนเองลดลง
  • ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
 

+ การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปที่เกิดกับชายวัยทอง

  • การลดลงของพลังงานด้านร่างกาย
  • ไม่ค่อยมีสมาธิ
  • ขี้หลงขี้ลืม
  • นอนหลับได้น้อย
  • มีการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตที่แย่ลง
 

+ ผลกระทบระยะยาว

  • โรคกระดูกพรุน
  • โรคอ้วน
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ
  • กล้ามเนื้อฝ่อหรือไม่แข็งแรง

next  >>