Dyslipidemia เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดต่างไปจากเกณฑ์ปกติ เป็นผลให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)ซึ่งก่อให้เกิดโรคได้ 3 ชนิดคือโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน และโรคหลอดเลือดแดงรอบนอกตีบ (peripheral arterial disease) ภาวะความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดดังกล่าวนี้ได้แก่

                  ภาวะโคเลสสเตอรอลรวม ( total cholesterol:TC) ในเลือดสูง ภาวะนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการมีระดับ low density lipoprotein-cholesterol (LDL-C) ในเลือดสูง ซึ่งจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

              ภาวะ high density lipoprotein cholesterol (HDL-C) ในเลือดต่ำ เป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระที่ก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

              ภาวะไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride:TG) ในเลือดสูง ภาวะดังกล่าวนี้อาจเกิดจากระดับไตรกลีเซอไรด์ใน very low density lipoprotein TG (VLDL-TG) ในเลือดสูง และ/หรือระดับไตรกลีเซอไรด์ในchylomicron ในเลือดสูง เฉพาะ VLDL-TG ในเลือดสูงที่ก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ส่วน chylomicron-TG ในเลือดสูง ก่อให้เกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน


              ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงควบคู่กับภาวะ HDL-C ในเลือดต่ำ ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงควบคู่กับระดับ HDL-C ในเลือดต่ำ มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น

              คณะสามไขมัน (lipid triad) อัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มสูงขึ้นมาก ในผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และHDL-C ในเลือดต่ำร่วมกับ TC หรือ LDL-C ในเลือดสูงหรือผู้ที่มีอัตราส่วน TC/HDL-C หรือ LDL-C/HDL-C สูง ร่วมกับภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง




              การศึกษาทางวิทยาการระบาดพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดน้อยนั้นควรมีระดับไขมันในเลือดดังนี้ TC<200 มก./ดล. HDL-C>40มก./ดล. และ TG<150 มก./ดล.นอกจากนี้ควรมีอัตราส่วน TC/HDL-C< 4.5และLDL-C/HDL-C<3.0ิ


1.ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ได้แก่
      ก.โรคความดันโลหิตสูง
      ข.โรคเบาหวาน
      ค.ประวัติสูบบุหรี่
      ง.ชายอายุมากกว่า 45 ปี, หญิงอายุมากกว่า 55 ปี
      จ.โรคอ้วน
      ฉ.โรคหัวใจขาดเลือด
      ช.ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด,อัมพาต อัมพฤกษ์ หรือระดับไขมัน ในเลือดสูง
      ซ.เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง

2.ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
3.ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี

ควรตรวจระดับไขมันอะไรบ้าง

1.ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดแข็งควรตรวจระดับ TC,TG และ HDL-C
2.ในผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจระดับ TC อย่างเดียว ถ้าระดับ TC > 240 มก./ดล. จึงตรวจTC,TG และ HDL-C ถ้าระดับไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรตรวจซ้ำอีกอย่างน้อยทุก 5ปี