MSD

B.L.H. TRADING CO., LTD.
Present
Asia-Pacific Region Scientific Symposium




Grand Ballroom, Le Royal Orchid Sheraton Hotel , Bangkok, Thailand
February, 2001




          ภาวะกระดูกพรุนเป็นปัญหาที่ถูกละเลย และได้รับการสนับ
สนุนงบประมาณทางการแพทย์น้อย ทั้ง ๆ ที่มีขนาดของปัญหาที่
ใหญ่มีผลกระทบอย่างมากต่อผู้ป่วย และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์
ของประเทศโดยรวม ตัวอย่างเช่นในยุโรป 1ใน 8 ของประชากร
ที่มีอยู่มากกว่า50 ปีเกิดกระดูกสันหลังหัก ในปี ค.ศ.1999 ค่าใช้
จ่ายที่ใช้ในการรักษา ผู้ป่วยที่กระดูกหักอันเนื่องมาจากภาวะกระ
ดูกพรุนในสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปรวมกันมีมูลค่าถึง
27,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการประมาณการว่าในเอเชียอุบัต
ิการณ์ของกระดูกสะโพกหักจะเพิ่มขึ้น 2 - 3 เท่าในปี ค.ศ. 2050
หรือในภาพรวมแล้วกระดูกสะโพกหักจะเกิดขึ้นในคนเอเชียประ
มาณร้อยละ 50 ของการเกิดกระดูกสะโพกหักทั้งหมดทั่วโลกอุบัติ
การณ์ในการเกิดกระดูกสะโพกหักในฮ่องกง และสิงคโปร์ก็เป็นตัว
เลขที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา (รูปที่ 1)

 
รูปที่ 1
ระยะเวลาที่ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักหักนอนอยู่ในโรงพยาบาลจะสูงกว่าโรค
อื่น ๆ (เช่น มะเร็งเต้านม เบาหวาน myocardial  information เป็นต้น)
ถ้าเปรียบเทียบ   lifetimerisk  ที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากการเกิด  กระดูก
สะโพกหักแล้วจะมีค่าเท่ากับมะเร็งเต้านม กล่าวคือ ร้อยละ2.8 ซึ่งสูงกว่า
มะเร็งโพรงมดลูก (ร้อยละ0.7) หรือถ้าดูที่อัตราตายแล้วกระดูกสะโพกหัก
จะมีอัตราตายเทียบได้กับจากภาวะ stroke  ในภาพรวมของค่าใช้ จ่ายที่
ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มี ภาวะกระดูกพรุนในสหรัฐอเมริกาสูงถึงปีละ13.8
พันล้านเหรียญสหรัฐ

  ในขณะที่ปัญหาภาวะกระดูกพรุนมีความสำคัญมากเช่นนี้ แต่กลับถูกเพิกเฉยจากการดูแลรักษาไปอย่างน่าเสียดาย
มีการศึกษาที่เป็นหลักฐานได้ดีต่อ  ข้อความดังกล่าวข้างต้นคือ มีการสำรวจผู้ป่วยที่มาทำเอ็กซเรย์ปอดซึ่งมีอายุตั้ง
แต่  60  ปีขึ้นไป  จำนวน  934  คน  แล้วนำฟิล์ม  เอ็กซเรย์มาดูอีกครั้ง  โดยรังสีแพทย์พบว่ามีภาวะกระดูกพรุน
ที่สามารถวินิจฉัยได้จาก  ฟิล์มเอ็กซเรย์ปอด 132 ราย   แต่ระบุลงในใบรายงานของรังสีแพทย์ที่อ่านฟิล์มครั้งแรก
เพียง 65 ราย และใน 65 รายนี้มีการลงการวินิจฉัยในประวัติผู้ป่วยเพียง 23 รายเท่านั้น  หรือ ถ้าดูที่การได้รับการ
รักษาภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีเพียง  25  รายเท่านั้น  (ร้อยละ 19)  ในประเทศออสเตรเลียก็มีการสำรวจ
กลุ่มผู้หญิงอาย ุระหว่า 55 - 90 ปีที่มาหาห้องฉุกเฉิน ด้วยเรื่องกระดูกแขนหรือขาหัก  พบว่าสตรีจำนวน 264 คน
ที่เกิดกระดูกหักจากการได้รับการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย   (minimal  trauma)   เมื่อสำรวจย้อนหลังไปในประวัติ
ผู้ป่วยกลุ่มนี้แล้ว มีเพียงร้อยละ 11ของผู้ป่วยเท่านั้นที่ได้รับการรักษาภาวะกระดูกพรุนมาก่อนนอกจากนี้   หลังจาก
การเกิดกระดูกหักแล้ว  เป็นระยะเวลา 6 เดือน เมื่อสอบถามไปยังผู้ป่วย 264 คนนี้ พบว่ามีผู้ป่วยเพียงร้อยละ  29
เท่านั้น ที่ได้รับการรักษาภาวะกระดูกพรุน

จากการที่ปัญหาภาวะกระดูกพรุนถูกละเลยไปนั้น International OsteoporosisFoundation (IDF)  พยายามที่จะหาคำตอบ
ว่าทำอย่างไร จึงจะแก้ปัญหานี้ได้  DF  ได้ออกแบบสำรวจทัศนคติของผู้ป่วยต่อภาวะกระดูกพรุน และแนวทางการดูแลรักษาภาวะ
กระดูกพรุนของแพทย์งานวิจัยนี้ได้ รับการตอบรับจากแพทย์  1,071 คนและสตรี วัยหมดระดู  559  คนจาก 11 ประเทศ  พบว่า
ร้อยละ 25 ของสตรีดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกระดูกพรุน และร้อยละ 93 ของสตรีทั้งหมดทราบดีถึงความสำคัญของภาวะ
กระดูกพรุน แต่ปรากฏว่า  8  ใน  10  ของยอดสตรีทั้งหมดไม่คิดว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าว เมื่อแบ่งแยกตาม
ประเทศต่าง ๆ แล้วพบว่ามีเพียงร้อยละ  0-48  ที่เข้าใจว่าตัวเองเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงนอกจากนี้ยังพบว่า  ในกลุ่มสตรีที่ได้รับ
การวินิจฉัยว่ามีภาวะกระดูกพรุนแล้วนั้นร้อยละ 18 ไม่เคยปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์


รูปที่ 2
ข้อมูลที่ได้รับจากแพทย์ที่ตอบแบบสอบถามก็มีความน่าสนใจมาก โดยร้อยละ 75
ของแพทย์ทั้งหมดคิดว่าขาดเครื่องมือที่เพียงพอในการวินิจฉัย    (เช่น      DXA
Machines  มีการกระจายที่แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ)    ร้อยละ 83
คิดว่าหน่วยงานที่ ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ ของผู้ป่วยไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย
ในส่วนนี้ที่น่าสนใจอย่างมากก็คือ
ร้อยละ  20  ของแพทย์ทั้งหมดกล่าวว่าไม่มีเวลา
เพียงพอที่จะมาสนใจปัญหานี้
การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ก็มีตัวเลขที่ต่ำมาก
กว่าคือ
เมื่อแบ่งเป็นแต่ ละประเทศแล้วมีเพียงร้อยละ 2-16 เท่านั้นที่ได้รับยารักษา
ภาวะกระดูกพรุน
ในส่วนของการเป็นความสำคัญของการรักษา ร้อยละ 72 ของสตรี
ทั้งหมดคิดว่าควรได้รับการป้องกันรักษาภาวะกระดูกพรุน ถ้าตนเองทราบว่าปัญหา
ดังกล่าวมีความสำคัญเช่นนี้
ในขณะที่แพทย์ร้อยละ  80   เห็นว่าผู้ป่วยที่สมควรให้

การรักษาควรเป็นผู้ป่วยที่เคยกระดูกหักมาก่อน   จึงไม่น่าประหลาดใจที่พบว่า 3 ใน 4 ของสตรีที่มีภาวะกระดูกพรุน ไม่ได้รับการ
รักษาแต่อย่างใด

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามียาที่ใช้ในการรักษาภาวะกระดูกพรุนที่ได้รับการทดสอบถึงประสิทธิภาพแล้วตัวอย่างเช่น ยากลุ่ม
Bisphosphonates (alendronate. Risedronate)  ยากลุ่ม   selective   estrogen   receptor   modulators 
(เช่น   Raloxifene) โดยมีการพิสูจน์ในทางคลินิกแล้วว่ายาทั้งสองกลุ่มสามารถ ลดความเสี่ยงต่อการเกิด กระดูกสันหลัง
กระดูกสะโพก   และกระดูกข้อมือหัก  ลดลงได้ถึงประมาณครึ่งหนึ่ง  จึงกล่าวได้ว่าไม่มีข้อแก้ตัวอย่างใดในการที่จะไม่ให้
การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ กระดูกพรุน


มาตรฐานในการวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนในปัจจุบันคือ  เอ็กซเรย์พบว่ามีกระดูกสันหลัง  และ/หรือ  กระดูกแขนขาอื่นใดหัก
สามารถตรวจดูให้แน่ชัดจากเอ็กซเรย์ได้ว่ามีภาวะกระดูกพรุนรวมตัวด้วยหรือไม่     ถ้าไม่มีกระดูกหักการวัดความหนาแน่น
ของกระดูก  (Bone   mineral   density.  BMD)   ถือเป็น  gold standard  ในการวินิจฉัย  อาจจะใช้เครื่อง  DEXA
(dual  energy x-ray  absorptiometer)  หรือ  peripheral  DEXA  หรือ  ultrasound  ก็ได้  พึงระลึกไว้เสมอว่าการ
วัดความหนาแน่นของกระดูกสามารถทำนายการหักของกระดูกได้ดีเช่นเดียวกับการวัดความดันโลหิต คำนายการเกิด stroke

รูปที่ 3
ปัญหาสำคัญของภาวะกระดูกพรุนคือการไม่ได้รับการวินิจฉัย ซึ่งทำให้ไม่ได้รับ
การดูแลรักษาที่ถูกต้องตามไปด้วย แนวทางในการกำจัดปัญหานี้ก็คือ
  1. ให้การศึกษาถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคน
2. กระตุ้นรัฐ เอกชน หรือ บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องต่อนโยบายสาธารณสุข
    ของ ประเทศให้เห็นความสำคัญของปัญหานี้
3. เปลี่ยนทัศนคติของแพทย์ในปัจจุบันเกี่ยวกับการดูแลรักษาภาวะกระ
    ดูกพรุน
4. สร้างความรู้สึกถึงความสำคัญของปัญหากระดูกพรุนให้เกิดขึ้นในหมู่สตรี     และ แพทย์



| กลับหน้าหลัก | NEXT | BACK | DOWNLOAD | TOP |